การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณน้ำสบระหว่างแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีจังหวัดสุรินทร์
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณน้ำสบของแม่น้ำชีกับแม่น้ำมูล ในเขตอำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ข้อมูล ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมในโปรแกรม Google Earth ปี พ.ศ. 2562 ข้อมูลการสำรวจภาคสนาม และข้อมูลจากระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแปลตีความข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยสายตา นำเสนอผลในรูปแบบแผนที่ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่พบมากที่สุด คือ พื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ 84.54 ตร.กม. (ร้อยละ 62.98) รองลงมาคือ พื้นที่ป่า 33.05 ตร.กม. (ร้อยละ 24.62) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 10.99 ตร.กม. (ร้อยละ 8.18) พื้นที่แหล่งน้ำ 4.22 ตร.กม. (ร้อยละ 3.14) และพื้นที่เบ็ดเตล็ด 1.42 ตร.กม. (ร้อยละ 1.06) ตามลำดับ
This study aimed to study land use characteristics in the confluence area of Chi and Mun river, Tha Tum district and Chumphon Buri district, Surin province. The satellite imagery data of Google Earth for 2019, field survey data and Global Positioning System (GPS) data were used in this study. Visual interpretation was used to analyze the satellite imagery data and presented the results using maps. The results showed that agricultural land occupied the largest area with an area of 84.54 km2 (62.98%), followed by forest land of 33.05 km2 (24.62%), urban and build-up land of 10.99 km2 (8.18%), water body of 4.22 km2 (3.14%) and miscellaneous land of 1.42 km2 (1.06%), respectively.
References
กองบริหารจัดการที่ดิน. (2552). การจำแนกและกำหนดมาตรการการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน. สืบค้น 29 ตุลาคม 2562, จาก http://www.onep.go.th/land/93-โครงการศึกษาวิจัย/801-2552.
เกรียงไกร บุญเติม และคณะ. (2544). “การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกําหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกยูคาลิปตัส จังหวัดนครพนม.” การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39 5-7 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 150-154.
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). "แล้งหนักสุดรอบ 30 ปี ต้นเหตุ "เอลนีโญ" มาเร็วกว่าทุกปี."
[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/news/local/1510136 สืบค้น 29 ตุลาคม 2562.
บุญสม สังข์สาย. (2548). การใช้ภาพถ่ายทางอากาศศึกษาการใช้ที่ดินบริเวณน้ำสบของลำชีกับแม่น้ำมูล อำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
พจนานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2549. (2549). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). ข้อมูลตัวชี้วัด “การใช้ประโยชน์ที่ดิน”. สืบค้น 26 ธันวาคม 2562 จาก http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_8/.
อรรครัฐ ขุนวิทยา. (2545). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต่อการระเหยและสมดุลของน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Copyright (c) 2020 วารสารมนุษย์และสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และจะไม่นำส่งไปเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆนับจากวันที่ข้าพเจ้าได้ส่งผลงานต้นฉบับนี้และข้าพเจ้าได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาตรวจสอบความถูกต้องของ Abstract และบทความภาษาอังกฤษแล้ว